วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คังเซน บิวติ คลอรอยบอส


Item Code : 40114
KANGZEN Beauti Chloroibos

รหัสสินค้า : 40114
คังเซน บิวติ คลอรอยบอส

ราคาปกติ 935฿ ลด 25% เหลือ 700฿ เท่านั้น   




สนใจสั่งซื้อได้ ที่นี่


รายละเอียด :
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ส่วนประกอบที่สำคัญ: 1 ซอง (2 กรัม) ประกอบด้วย

1.Rooibos Extract Powder สารสกัดจากชารอยบอส 200 มก. (10%)
2.Sodium Copper Chlorophyllin โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน 200 มก. (10%)
3.Maltodextrin มอลโตเดกซ์ตริน 1,600 มก. (80%)

ปริมาณบรรจุ: 30 ซอง (ซองละ 2 กรัม)



สาระสำคัญ

โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน, สารสกัดจากชารอยบอส, มอลโตเดกซ์ตริน ประโยชน์เพื่อสุขภาพ 
2010-09-06 
"คลอโรฟิลล์" ประโยชน์ดีๆ จากพืชสู่คน
                คลอโรฟิลล์เป็นสารประกอบสีเขียวในพืช ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แร่ธาตุและน้ำ ให้กลายเป็นออกซิเจนและสารอาหารสำหรับพืช มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานหรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคนพบว่า คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์พืชทั่วไปไม่ละลายน้ำ จะลายได้ในไขมันหรือแอลกอฮอล์บางรูปเท่านั้น เนื่องจากตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลล์เป็นอะตอมของธาตุแมกนีเซียมที่ไม่ละลายในน้ำ ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่แม้เราจะกินผักจำนวนมากก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงมีการสกัดคลอโรฟิลล์ให้อยู่ในรูปสารที่ละลายน้ำได้ คือ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน เพื่อให้ร่างกายมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพได้
                โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน คือ อนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll Derivative) โดยมีทองแดงเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ เพื่อทำให้สามารถละลายน้ำได้

รายงานการวิจัยประโยชน์ของ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน
                1. ในปี 2003 มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา มีรายงานการวิจัยว่า การใช้โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่พบรายงานความเป็นพิษต่อร่างกายซึ่งได้มีการศึกษาทางคลีนิคในมนุษย์ มากกว่า 50 ปี โดยโซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่ตกค้างในร่างกายสามารถขับออกทางอุจจาระและปัสสาวะ[5,14,15]
                2. จากงานวิจัย Huazhong University ในประเทศจีนปี 2005 พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia (จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ) ซึ่งผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยจากผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia จำนวน 60 คนได้รับ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 40 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 1 เดือน พบว่าเม็ดเลือดขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้น 85% ในกลุ่มอาสาสมัคร 60 คน[12]
                3. ดร.แดชวู้ด (Dr.Roderick Dashwood) อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ทดลองให้คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน เป็นอาหารปลาเทร้าท์ (Trout) เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในตับจากการถูกพิษแอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (Aflatoxin B1) ผลคือ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง ไม่สามารถทำลาย ดีเอนเอ (DNA) ในตับปลาเทร้าท์ได้ จึงไม่เกิดมะเร็งในตับ[16]
                4. นอกจากนี้ ดร.แดชวู้ด ยังทดลองเพิ่มอีกเพื่อเป็นการพิสูจน์การล้างสารพิษด้วย คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน โดยการให้หนูทดลองได้รับสารเคมีกลุ่ม Heterocyclic Amines (Colon Cancer exposed to Heterocyclic Amines) ผลคือ สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนูทดลองได้[16]
                5. จอห์น กรูปแมน จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโดยใช้หนูทดลองรับเอาสารพิษ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (ชนิดเดียวกับที่ดร.แดชวู้ด ใช้กับปลาเทร้าท์) ผลคือ ป้องกันมะเร็งตับในหนูทดลองได้[16]
                6. มีรายงานผลงานการวิจัยของ ดร.โธมัส เคนสเลอ (Dr.Thomas Kensler) และคณะ เรื่องการขัดขวางการเกิดมะเร็งตับโดยคลอโรฟิลล์และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ในประชากรเมืองกิดอง (Qidong) ประเทศจีน
                เดิมทีประชากรเมืองนี้มีอัตราการเกิดมะเร็งในตับสูงเนื่องมาจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ซึ่งสารพิษชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบนถั่วชื้นๆ (ที่มักเกิดในมะขามหวานและถั่วลิสงคั่วบดในประเทศไทย) น้ำซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว ซึ่งอาหารเหล่านี้ชาวเมืองกิดองบริโภคเป็นประจำทุกวัน
                ดร.เคนสเลอ ได้ทำการวิจัยโดยให้กลุ่มศึกษาทั้งหมด 180 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 90 คน) โดยให้ 1 กลุ่มทานคลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 100 มก. ทุกวัน วันละ 3 ครั้ง พร้อมอาหาร เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มให้ทานยาหลอก (Placebo)
                ผลการศึกษาจากการตรวจหาความเสียหายของ ดีเอนเอ (DNA) ที่เกิดจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ทางเลือดและปัสสาวะ (Aflatoxin-DNA Damage) ดร.เคนสเลอ ได้อธิบายว่า คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถลดระดับความเป็นพิษของสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ตัวก่อมะเร็งอย่างได้ผล[16]
                7. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการวิจัยทั้งในห้องทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยไปทำให้อนุมูลอิสระหมดความเป็นพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระหลังได้รับสารเคมีและรังสีอีกทั้งยังสามารถลด Lipidperoxidese (อนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง) ในตับ และ ม้ามได้[8,17]
                8. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยการไปป้องกันการเปลี่ยนแปลงของธาตุเหล็กในเม็ดเลือดแดง (จาก Fe2+ เป็น Fe3+) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงสูญเสียประสิทธิภาพในการจับและนำส่งออกซิเจน ส่วนความเข้าใจที่ว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดงนั้น...เป็นความเข้าใจที่ผิด แม้จะมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีมในเม็ดเลือดแดงก็ตาม[7]
                9. มีรายงานการจำหน่ายเพื่อใช้ในการลดกลิ่นตัว กลิ่นอุจจาระและปัสสาวะ ตลอดจนช่วยในการสมานแผลในผู้ป่วยสูงอายุ[22]
                10. ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้รังสีในการรักษามะเร็งผิวหนัง โดยการลดอนุมูลอิสระที่เกิดจากการฉายรังสี[9]ต่อต้านการกลายพันธุ์ ป้องกันความผิดปกติของ DNA ที่นำไปสู่การเป็นมะเร็ง[10]

อัลฟัลฟ่า บิดาแห่งอาหารทั้งมวล
                Alfalfa (อัลฟัลฟ่า)ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ว่า Medicago sativa (เมดิคาโก้ ซาติว่า) เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 3 ฟุต ดอกสีม่วงแกมฟ้า พบมากในแถบเอเชียและเขตรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เติบโตได้ในทุกอากาศทั่วโลก ในบางพื้นที่อัลฟัลฟ่าสามารถชอนไชรากได้ลึกถึง 130 ฟุต จึงดูดซึมธาตุอาหารได้มากและบริสุทธิ์กว่าพืชชนิดอื่น ไม่สะสมสารพิษไว้ในต้น
                ชาวอาหรับโบราณใช้ประโยชน์จาก "อัลฟัลฟ่า" กว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล แรกเริ่มนิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงม้า แต่เมื่อสังเกตว่าม้าสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีความว่องไวกว่าที่เคย ชาวอาหรับจึงทดลองรับประทานอัลฟัลฟ่า ปรากฏว่าร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่เหนื่อยอ่อนง่ายๆ อีกทั้งยังช่วยในการขับปัสสาวะ ลดอาการปวดตามข้อกระดูกได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณค่าดังกล่าว อัลฟัลฟ่าจึงถูกขนานนามว่า The Father of All Foods หรือ “บิดาแห่งอาหารทั้งมวล”
                อัลฟัลฟ่า มีประวัติการใช้เป็นสมุนไพรมากว่า 1,500 ปี, ในตำราแพทย์แผนจีน อัลฟัลฟ่า ถูกใช้รักษาโรคเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและไต, ในตำรายาอายุรเวทของอินเดีย (Ayurvedic medicine) ใช้ใบอัลฟัลฟ่า ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อย[4]ปัจจุบันอัลฟัลฟ่าเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ทานสลัด (ถั่วงอกอัลฟัลฟ่า) และนำมาสกัดสาร โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลินเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ

คุณรู้จัก "อนุมูลอิสระ" หรือไม่...?
อนุมูลอิสระ (Free radical) คือ โมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนไม่ครบคู่ จึงต้องไปแย่งชิงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลที่ดี เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหาย ส่วนโมเลกุลที่ดี เมื่อถูกแย่งอิเล็กตรอนไปก็จะกลายเป็นอนุมูลอิสระแทน แล้วไปแย่งชิงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นต่อไปเป็นลูกโซ่ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะเป็นสารพิษต่อเซลล์ร่างกาย ถ้าในเซลล์มีอนุมูลอิสระมากจะไปทำลาย ดีเอ็นเอ, เยื่อหุ้มเซลล์ และอื่นๆ จนเกิดความเสียหายต่อระบบต่างๆ ในร่างกายตามมา
                สาเหตุการเกิดอนุมูลอิสระสามารถแบ่งได้เป็น 2 ทางดังนี้
                กลไกตามธรรมชาติในร่างกาย เช่น กระบวนการเผาผลาญอาหาร (Metabolism), การหายใจ, การออกกำลังกาย เป็นต้น
                ตัวกระตุ้นนอกร่างกาย เช่น การติดเชื้อ, มลพิษในอากาศ, อาหารไหม้เกรียม, ยาบางชนิด (โดโซรูบิซิน, เพนนิซิลามิน, พาราเซทามอล) เป็นต้น
                จากสาเหตุทั้ง 2 ข้อ พิจารณาได้ว่า ไม่มีเวลาไหนเลย ไม่เกิดอนุมูลอิสระ!!!

ผลเสียจากอนุมูลอิสระ
                ปัญหาร้ายแรงสำหรับสาวๆ ที่รักสวยรักงาม คือ ริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า รอบดวงตา และผิวพรรณ ซึ่งจะทำให้สาวๆ แลดูแก่แม้อายุยังน้อยก็ตาม นอกจากนี้อนุมูลอิสระยังเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ต้อกระจก ความดันโลหิตสูง อัลไซเมอร์ เบาหวาน และที่ร้ายแรงที่สุดคือ โรคมะเร็งนั่นเอง...!!!

"มะเร็ง" ใกล้ตัวกว่าที่คิด
                มะเร็งคือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์มีความผิดปกติที่ DNA หรือ สารพันธุกรรม ทำให้เซลล์มีการเติบโต, แบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติและเกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งมีโอกาสน้อยมากที่จะรักษาให้หาย และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก
                ผลการรวบรวมและวิเคราะห์สาเหตุการตายของคนไทยโดย กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตั้งแต่ปี  2548 - 2552 คนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับ 1โดยเฉพาะในปี 2550 มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งสูงสุดถึง 56,058คน[18]  ...จากกข้อมูลตัวเลขดังกล่าวเป็นที่น่าตกใจว่า มะเร็งใกล้ตัวเรากว่าที่คิด และยิ่งนับวันผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งยิ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
บอกลา "อนูมูลอิสระ" ด้วย "ชาไร้คาเฟอีน" 
                รอยบอส หรือ Rooibos (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aspalathus linearis) คือ พันธุ์ไม้ประเภทฝัก พุ่มเล็ก ใบคล้ายเข็ม เป็นพืชเฉพาะถิ่นพบได้ที่เดียวในโลก คือ ประเทศแอฟริกาใต้ ในอดีต รอยบอส ถูกค้นพบโดยชาว Khoi-San[3]ชนพื้นเมืองเก่าแก่ที่มีความเชื่อเรื่องสมุนไพรธรรมชาติ และได้ใช้ รอยบอส รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานามาโดยตลอด กระทั่งมีการนำรอยบอสมารับประทานในรูปแบบชาเพื่อบำรุงสุขภาพ
                ชารอยบอส รู้จักโดยทั่วไปในชื่อ ชาแดง (Red Tea) เนื่องจากนำมาต้มน้ำจะได้น้ำสีแดงสว่างสดใส มีรสชาติออกหวานผลไม้ นุ่มลิ้น กลิ่นคล้ายถั่ว
                สารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในชารอยบอส ได้แก่ แคลเซียม แมงกานีส ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน สังกะสี และ กรดผลไม้(Alpha Hydroxy Acid ; AHA) เสริมสุขภาพผิว แมกนีเซียมช่วยในระบบประสาท และยังประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มต่างๆ อีกมากมายด้วย
                นอกจากนี้ชาแดงรอยบอสยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ "มีสารแทนนินต่ำ"ไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และ "ปราศจากคาเฟอีน"จึงเหมาะกับทุกเพศทุกวัย[2]
                       
รายงานการวิจัยประโยชน์ของชารอยบอส
                1. มีการวิจัยประโยชน์ของรอยบอสพบว่า ชารอยบอสช่วยในการบรรเทาอาการภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Cardiac arrhythmia), อาการโคลิกในเด็ก (Colic), ท้องร่วงหรือท้องเดิน (Diarrhea), โรคหืด (Asthma) ความดันโลหิตสูง (Hypertension), ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant), ชะลอความชรา (Anti-aging), ต่อต้านมะเร็ง (Anti-cancer), ต่อต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory), ต้านเบาหวาน (Antidiabetic), ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Antispasmodic)[19]
                2. ชารอยบอสประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทโพลิฟีนอล (Polyphenol) ที่มีหลักการทำงานเทียบกับเอ็นไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส (SOD) ในร่างกาย ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระจำพวกอนุมูลอิสระออกซิเจน (อนุมูลอิสระแอนไอออน) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง จึงช่วยต่อต้านการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น มะเร็ง,การอุดตันในเส้นเลือด, หัวใจวาย และยังช่วยดูแลสุขภาพผิว, ลดเลือนริ้วรอย, ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส[1]
                จากประโยชน์มากมายผนวกกับคุณสมบัติพิเศษที่มี ทำให้ ชาแดงรอยบอส เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการดื่มบำรุงสุขภาพเป็นประจำ

"พรีไบโอติก" คือ...?
ลำไส้ของเรามี "จุลินทรีย์" จำนวนมากอาศัยอยู่ภายใน ซึ่งจุลินทรีย์มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี เมื่อจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ไม่สมดุลกัน คือ จุลินทรีย์ที่ดีลดจำนวนลงหรือทำงานได้ไม่ดีก็จะเกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ท้องผูก, ท้องเดิน, แก่ก่อนวัย, มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น[20]จากปัญหาจุลินทรีย์ที่ดีลดจำนวนลง เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการรับประทานผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว (ยกเว้นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มประเภทยูเอชที) แต่ถ้าอยากให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเราสามารถรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก
                พรีไบโอติก คือ สารหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยไปกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่มประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ (โปรไบโอติก)

"มอลโตเดกซ์ตริน" เพื่อจุลินทรีย์ที่ดี
                มอลโตเดกซ์ตริน (Maltodextrin) เป็นแป้งที่ดัดแปรจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด ฯลฯ มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง ไม่มีผลข้างเคียงกับระบบประสาทสัมผัส รสชาติหวานเล็กน้อย โดยทั่วไปใช้เป็นสารเติมแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานในเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ เครื่องดื่มให้พลังงานสำหรับนักกีฬา
                คุณสมบัติของ มอลโตเดกซ์ตริน คือทำหน้าที่เสมือนใยอาหารจึงเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ, เป็นพรีไบโอติกคือ เป็นอาหารและช่วยส่งเสริมการทำงานจุลินทรีย์ที่ดี เช่น แลคโตบาซิลลัส และ บิฟิโดแบคทีเรียม ฯลฯ ในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้อุจจาระนิ่ม จึงลดอาการท้องผูก ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร การทำงานและสุขภาพของระบบทางเดินอาหารจึงดีขึ้น, ช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

รายงานการวิจัยประโยชน์ของมอลโตเดกซ์ตริน
                ในมอลโตเดกซ์ตรินจะมีพันธะ แอลฟ่า และเบต้า 1,2-,1,3- และ 1,4- ขณะที่ร่างกายจะสามารถย่อยแป้งที่มีพันธะ แอลฟ่า 1,4 เท่านั้น ส่วนที่ไม่ถูกย่อยก็จะทำหน้าที่เสมือนใยอาหารสามารถอุ้มน้ำและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการโดยทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) และช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น Lactobasislus และ Biphedobecterium ในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้อุจจาระนุ่ม จึงช่วยลดอาการท้องผูก[21] 
ข้อมูลอ้างอิง              
      4. http://en.wikipedia.org/wiki/Alfalfa
      5. Egner PA, Munoz A, Kensler TW. Chemoprevention with chlorophyllin in individuals exposed to dietary aflatoxin. Mutat Res. 2003;523-524:209-216.
      6. www.voicetv.co.th/content/7919/คนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งชั่วโมงละ6คน
      7. Md. Selim และคณะ, Relaxtion of the folding of globulin around heme of hemoglobin of Homo sapiens by the food grade additive molecule chlorophyllin,Monatsh Chem, 2010.
      8.  S.S. Kumar และคณะ, Effect of chlorophyllin against oxidative stress in splenic lymphocytes in vitro and in vivo, Biochimica et Biophysica Acta 1672 (2004) 100-111
      9. K.-K. Park และ Y.-J. Surh, Chemopreventive activity of chlorophyllin against mouse skin carcinogenesis by benzo[a]pyrene and benzo[a]pyrene-7,8-dihydrodiol-9,10-epoxide, Cancer Letter 102 (1996) 143-149
     10. K.-K. Park และคณะ, Chemoprotective properties of chlorophyllin against vinyl carbamate, p-nitrophenyl ether and their electrophilic epoxides, Cancer Letter 94 (1995) 33-40
     11. O. Aozasa และคณะ, Fecal Excretion of Dioxin in Mice Enhanced by Intake of Dietary Fiber Bearing Chlorophyllin, Bull. Environ. Contam. Toxicol. (2003) 70:359-366
     12. GAO Feng และ HU Xiu-fen, Analysis of the Therapeutic Effect of Sodium Copper Chlorophyllin Tablet in Treating 60 Cases of Leukopenia, Chin J Integr Med, 2005, Dec; 11(4) : 279-282
     13. Guyton และ Kensler, Prevention of Liver Cancer, Current Oncology Reports 2002, 4:464-470
     14. Chernomorsky SA, Segelman AB. Biological activities of chlorophyll derivatives. N J Med. 1988;85(8):669-673.
     15. Kephart JC. Chlorophyll derivatives - their chemistry, commercial preparation and uses. Econ Bot. 1955;9:3-38.
     16. Thomas W.Kensler; Chlorophyll Chlorophyllin intervention reduces Aflatoxin-DNA adducts in individuals at high risk for liver cancer; Funded by grants from USPHS and NIEHS; 2001
     17. http://lpi.oregonstate.edu/infocenter/phytochemicals/chlorophylls/
     18. กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ; http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5วันที่ 19/08/53
     19. D. Ferretra et al., Rooibos tea as a likely health food supplement., fundamental Foods for Health, pp 73-88, 1995
     20. ไชยวัฒน์ ไชยสุต. 2553. สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
     21. A. Bomba et al., The Improvement of probiotics efficacy by synergistically acting components of natural origin : a review., Biologia, Bratislava, 61/6: 729-734, 2006
     22. R.W. Young, Use of Chlorophyllin in the care of geriatric patients, J. Am. Geriat. Soc. 24 (1980)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น